ขั้นตอนปิดงบ

รับทำบัญชี.COM | 14 ขั้นตอนปิดงบการเงินวิธีการความสำคัญในการจัดทำงบการเงิน?

Click to rate this post!
[Total: 331 Average: 5]

ขั้นตอนปิดงบการเงิน

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี ปิดงบการเงิน ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า)

  1. รวบรวมเอกสารทั้งหมดของบริษัทที่จะทำการปิดบัญชี จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดมาตรวจสอบความครบถ้วน, ความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสาร และคัดแยกเอกสารเป็นส่วนๆ โดยเอกสารที่ใช้ในการทำการปีดงบการเงิน หลักๆ ประกอบด้วย ดังนี้

ปิดงบการเงิน

เอกสารที่ใช้ปิดงบการเงิน

  • งบทดลองและงบการเงินของปีก่อน
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • สินค้าคงเหลือ
  • สัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่าซื้อรถของบริษัท , สัญญาเงินให้กู้ยืม เป็นต้น
  • แบบภ.ง.ด.50 ของปีก่อน พร้อมใบเสร็จ
  • แบบภ.ง.ด. 1-3-53 พร้อมใบเสร็
  • แบบภ.ง.ด.51 ของปีปัจจุบัน พร้อมใบเสร็จ
  • แบบภ.พ.30 พร้อมใบเสร็จ
  • หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย / รายละเอียดภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
  • แบบประกันสังคมพร้อมใบเสร็จ
  • ใบกำกับภาษีซื้อ-ขาย หรือ รายงานภาษีซื้อ-ขาย
  • ใบเสร็จรับเงิน-ใบเสร็จจ่ายชำระ
  • Statements ทุกธนาคาร

*หากมีเอกสารขาดหายไปให้ทางสำนักงานบัญชีดำเนินการขอเอกสารกับทางบริษัท

การบันทึกบัญปิดงบการเงิน

คลิกดู ตัวอย่างเอกสาร

  1. ทำการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Express โดยใช้ฐานข้อมูลที่เกิดจากการประมวลผลแล้ว ซึ่งฐานข้อมูลจะเป็นปีที่จะใช้สำหรับจัดทำบัญชี
  1. ทำการบันทึกข้อมูลยอดยกมา โดยการนำข้อมูลในส่วนของสินทรัพข์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นจากงบการเงินของปืก่อน มาทำการบันทึกในโปรแกรม โดยจะต้องใส่เครื่องหมายลบในการบันทึกข้อมูลที่อยู่ด้านเครดิตด้วย เมื่อทำการบันทึกยอดยกมาครบถ้วนแล้ว ในงบทดลองของยอดยกมาทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิตจะต้องมีจำนวนเท่ากัน

บันทึกยอดยกมา

  1. ทำการโอนปิดภาษีซื้อ-ขายให้เป็นศูนย์ โดยจะโอนปิดตามแบบก.พ.30 โดยจะมี 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ การโอนปิด โดยการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป (JV)

บันทึก

Dr. ภาษีขาย               XXX

Cr. ภาษีซื้อ                          XXX

Cr. เจ้าหนี้กรมสรรพากร     XXX

บันทึกภพ.30

การจ่ายชำระภ.พ.30 โดยการบันทึกในสมุดรายวันจ่าย (PV)

บันทึก

Dr. เจ้าหนี้กรมสรรพากร               XXX

Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร            XXX

เพิ่มเติม : ในกรณีที่ชำระภ.พ. 30 ผ่านอินเตอร์เน็ต สรรพากรทำการลดในส่วนของเศยสตางค์ให้ จะทำการบันทึกบัญชีโดยการบันทึกในสมุครายวันจ่าย (PV) ดังนี้

บันทึก

Dr. เจ้าหนี้สรรพกร               XXX

Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร                  XXX

Cr. รายได้อื่น-ผลต่างภาษีมูลค่าเพิ่ม     XXX

ปิดภาษีซื้อขาย

กรณีที่ 2 ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย การโอนปิด โดยการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป (JV)

บันทึก

Dr. ภาษีขาย                           XXX

      ลูกหนี้กรมสรรพากร        XXX

Cr. ภาษีซื้อ                              XXX

การจ่ายชำระภ.พ.30 : ไม่ต้องทำการจ่ายภาษีให้กับกรมสรรพากร แต่จะนำไปใช้ลดเจ้าหนี้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปได้

ปิดภาษีซื้อภาษีขาย

  1. บันทึกข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.3 เป็นแบบหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้ถูกหักเป็นบุคคลธรรมดาโดยการบันทึกในสมุดรายวันจ่าย (PV) ดังนี้

บันทึก

Dr. ค่าจ้างทำของ                XXX

Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร                    XXX

      ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย ภ.ง.ค.3      XXX

  1. บันทึกข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นแบบหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้ถูกหักเป็นนิติบุคคลโดยการบันทึกในสมุดรายวันจ่าย (PV) ดังนี้

บันทึก

Dr. ค่าบริการ/ค่าจ้างทำของ ฯลฯ               XXX

Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร                             XXX

      ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่ายก.ง.ด.53             XXX

บันทึกบัญชีปิดงบ

  1. บันทึกข้อมูลประกันสังคม โดยจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนเงินเดือน, เงินประกันสังคม, เงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยการบันทึกในสมุดรายวันจ่าย (PV) ดังนี้

บันทึก

Dr. เงินเดือน                                           XXX

     เงินสมทบกองทุนประกันสังคม         XXX

Cr. เงินสด                                                 XXX

      เงินประกันสังคมรอนำส่ง                    XXX

บันทึกบัญชีประกันสังคม

  1. บันทึกการรับชำระหนี้ โดยจะบันทึกตามใบเสร็จรับเงินของทางบริษัทโดยรับเป็นเงินสดหรือเช็คหรือการโอนเงิน ถ้ารับชำระหนี้เป็นเช็ดหรือการ โอนเงินให้อ้างอิงกับ Statement โดยการบันทึกในรับชำระหนี้ (RE) ดังนี้
  • เลือกรายชื่อลูกหนี้การค้าที่ต้องการรับชำระหนี้
  • เลือกหมายเลขใบกำกับภาษีที่ได้ทำการขาย/ให้บริการไว้กับลูกหนี้การค้ารายนั้นๆ
  • ในกรณีที่เป็นการบริการจะต้องนำภาษี หัก ณ ที่จ่ายมาใส่ตอนรับชำระหนี้ด้วย
  • เลือกวิธีการรับชำระหนี้ สามารถเลือกได้ทั้ง แบบเงินสด, เช็คและการโอนเงินผ่านธนาคาร

บันทึกรับชำระหนี้

  1. บันทึกการจ่ายชำระหนี้ โดยจะบันทึกตามใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยบริษัทที่เราไปซื้อของมา โดยจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็ค ถ้าจ่ายชำระหนี้เป็นเช็คให้อ้างอิงกับ Statement โดยการบันทึกในจ่ายชำระหนี้ (PS) ดังนี้
  • เลือกรายชื่อเจ้าหน้ีการค้ที่ต้องการทำการจ่ายชำระหน้ี
  • เลือกหมายเลขใบกำกับภาษีที่ได้ทำการซื้อไว้กับเจ้านี้รายนั้นๆ
  • เลือกวิธีการจ่ายชำระหน้ี สามารถเลือกได้ทั้งแบบเงินสด, เช็คและการโอนเงินผ่านธนาคาร

บันทึกรับจ่ายหนี้

  1. บันทึกฝาก/ถอน ข้อมูลจำนวนเงินใน Statement ให้ครบถ้วน กรณี บันทึกการฝากเงินโดยการบันทึกในสมุครายวันทั่วไป (JV) ดังนี้

บันทึก

Dr. เงินฝากธนาคาร    XXX

Cr. เงินสด                      XXX

  1. บันทึกค่าเสื่อมราคา และค่าเสื่อมราคาสะสมจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยจัดทำตารางค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ต่างๆ คำนวณออกมาแล้วจึงนำมาบันทึกในโปรแกรม ExpressI โดยการบันทึกในสมุครายวันทั่วไป (JV) ดังนี้

บันทึก

Dr. ค่าเสื่อมราคา             XXX

Cr. ค่าเสื่อมราคา-สะสม            XXX

  1. นำงบทดลองไปจัดทำงบการเงิน ซึ่งประกอบไปด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  2. นำส่งเอกสารให้กับทางผู้สอบบัญชี เพื่อทำการตรวจสอบเมื่อผู้สอบทำการสอบทานและตรวจสอบแล้ว จะจัดทำ’รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและเซ็นรับรอง
ขั้นตอนปิดงบการเงิน

ขั้นตอนปิดงบการเงิน